อัยการแจงรับศพ"สารวัตรเอี๊ยด"ไม่ต้องผ่านนิติเวช

[post_ad]
รองโฆษกสนง.อัยการสูงสุด แจงนำศพ "สารวัตรเอี๊ยด" บำเพ็ญกุศลได้เลย ไม่ต้องผ่านนิติเวช เชื่อการพิจารณาเป็นไปเปิดเผย ศาลให้ความเป็นธรรม ชี้สาเหตุการตายที่แท้จริงได้
เมื่อวันที่ 26 ต.ค. นายยรรยง เดชภิรัตนมงคลรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงขั้นตอนการไต่สวนชันสูตรพลิกศพพ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา ผู้ต้องหาคดีกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112ที่ผูกคอตัวเองกับลูกกรงห้องขังภายในเรือนจำชั่วคราวจนเสียชีวิต ว่า ตามกฎหมายแล้วเมื่อปรากฏแน่ชัดว่า บุคคลใดตายผิดธรรมชาติหรืออยู่ในระหว่างความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมาย บัญญัติไว้ 5 แบบ คือ ฆ่าตัวตาย ถูกสัตว์ฆ่าตาย ตายโดยอุบัติเหตุ และตายโดยไม่ปรากฏสาเหตุ จะมีพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่พบศพและแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์เป็นผู้มี หน้าที่ชันสูตรพลิกศพ แต่หากสาเหตุการตายที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานหรืออยู่ในระหว่าง การควบคุมของเจ้าพนักงานแล้วจะต้องมีพนักงานอัยการกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง
ตำแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอำเภอหรือเทียบเท่าแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์และพนักงาน สอบสวนร่วมเป็นผู้ชันสูตรพลิกศพ ซึ่งในชั้นนี้จะเป็นการร่วมกันเก็บตรวจพยานหลักฐานสภาพศพและสถานที่เกิดเหตุ
นายยรรยง กล่าวอีกว่า หลังจากมีการชันสูตรพลิกศพโดยเจ้าหน้าที่ทางวิชาชีพทั้ง 4 สาขาวิชาชีพแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ ซึ่งพนักงานสอบสวนจะต้องเป็นผู้แจ้งแก่พนักงานอัยการให้เข้าร่วมสอบสวนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่รับแจ้ง และหากมีการขยายระยะเวลา จะขยายเวลาได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน และไม่สามารถเลื่อนได้เกิน 2 ครั้ง และทุกครั้งต้องแจ้งเหตุผลในการขอขยายเวลา และเมื่อหากพนักงานอัยการได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการจะต้องทำคำร้องต่อศาลชั้นต้น และขอให้ศาลทำคำสั่งว่า ผู้ตายเป็นใครตายที่ไหน ตายเมื่อไหร่ ตายอย่างไร และพฤติการณ์แห่งการตาย และถ้าเหตุเป็นการตายโดยถูกทำร้าย อัยการจะต้องกล่าวต่อศาลด้วยว่า ใครเป็นผู้ทำร้ายให้ตายหากทราบ โดยการร้องต่อศาลอัยการจะต้องยื่นคำร้องหลังจากได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวน ภายใน 30 วัน นับแต่ได้สำนวนจากพนักงานสอบสวน และสามารถเลื่อนได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน พร้อมเหตุผลในการเลื่อน โดยการไต่สวนพยานในศาลนั้นเมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว จะต้องร้องขอให้ศาลส่งสำเนาคำร้องให้ญาติผู้ ตายไม่ว่าจะเป็น แม่ สามี ภรรยา หรือ ผู้มีอำนาจอย่างน้อย 1 คน เพื่อให้รับทราบก่อนที่อัยการจะนำพยานหลักฐานที่แสดงถึงเหตุการตายไม่น้อย กว่า 15 วัน ซึ่งญาติจะมีสิทธิแต่งตั้งทนายทนายความมาซักถามพยานได้ หรือ หากถ้าไม่มีจะสามารถขอศาลตั้งทนายความให้และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลอาจเรียกพยานไต่สวนเพิ่มเติมได้หากมีข้อสงสัยและคำสั่งของศาลถือเป็นที่ สิ้นสุด
"ส่วนกรณีที่มีการนำศพผู้ตายออกไปบำเพ็ญกุศลได้โดยไม่ต้องส่งไปดำเนินการที่ สถาบันนิติเวชนั้นนายยรรยง กล่าวว่า สามารถที่จะกระทำได้และเป็นการทำโดยชอบตามกฎหมายเนื่องจากผ่านการชันสูตร พลิกศพจากเจ้าหน้าที่จาก 4 สาขาวิชาชีพตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วโดยเจ้าหน้าที่จากฝ่ายอัยการที่เข้าไป ร่วมไต่สวนชันสูตรพลิกศพจะเป็นเจ้าหน้าที่จากศูนย์ชันสูตรพลิกศพ ของสำนักงานอัยการสูงสุดที่เข้าเวรในช่วงเวลานั้นพอดี ส่วนผลชันสูตรพลิกศพในเบื้องต้นเป็นอย่างไรนั้นตนยังไม่ทราบข้อเท็จจริง แต่ขั้นตอนการชันสูตรพลิกศพยังไม่ได้หยุดแค่นี้ ยังมีข้อเท็จจริงอีกขั้นซึ่งต้องมีการทำสำนวนเพื่อยื่นคำร้องต้องต่อศาล ซึ่งพอเรื่องเข้าสู่ชั้นศาลกระบวนการพิจารณาจะเป็นไปอย่างเปิดเผย ญาติสามารถเข้าร่วมฟังและสามารถแต่งตั้งทนายความได้ ถือว่ากฎหมายให้ความยุติธรรมในเรื่องนี้ได้ดีมาก" นายยรรยง กล่าว..
(source)
อัยการแจงรับศพ"สารวัตรเอี๊ยด"ไม่ต้องผ่านนิติเวช
Reviewed by sovanndy
on
9:12 AM
Rating:

No comments: